ชื่นใจ เพลงเพราะๆ รับขวัญลูก

เพลงเพราะๆ รับขวัญลูก

บอย ตรัย ภูมิรัตน หรือที่รู้จักกันดีในนาม บอย ฟรายเดย์
แต่งเพลงรับขวัญลูกสาว น้องชื่นใจ เพราะดี ขอเอามาฝากกันจ้า

เนื้อเพลง

* ถึงวันนี้สักที วันที่พ่อและแม่ชื่นใจ
เฝ้ารอมานับปี กว่าจะถึงวันนี้รู้ไหม
มีความรู้สึกมากมาย อยากให้ลูกรู้ให้ได้
เพราะวันนี้ที่ลูกเกิดมา คือของขวัญล้ำค่ายิ่งกว่าสิ่งไหน ลูกรู้ไหม
ถึงวันนี้สักที วันที่พ่อและแม่ชื่นใจ

คือความสุขของพ่อ และความสุขของแม่ รู้ไหม
เราต่างก็เฝ้ารอ ที่จะได้พบลูกไวๆ
ตั้งใจเมื่อไรได้ตัว จะจูบลูกให้ชื่นใจ
เจ้าตัวน้อยๆ ค่อยๆ ลืมตา เปล่งเสียงร้องไห้จ้า จะกอดเจ้าไว้ ไม่เป็นไร
ถึงวันนี้สักที วันที่พ่อและแม่ชื่นใจ

** เราจะภาวนาต่อนางฟ้า เทวดา ดวงดาว
ขอให้ลูกของเราแข็งแรง
ขอให้เจ้านั้นเป็นเด็กดี มีหัวใจสู้และเข็มแข็ง
และไม่ว่าอย่างไร รักนี้ไม่มีสิ่งใดๆ เคลือบแคลง

ถึงวันนี้สักที วันที่พ่อและแม่ชื่นใจ

**
*

อย่าปล่อยลูกเล่นราวจับบันไดเลื่อนตามลำพัง

  อย่าปล่อยให้ลูกเล่นบันไดเลื่อนโดยลำพัง ... ก่อนหน้านี้ คุณพ่อคุณแม่อาจจะเคยได้ยินคำเตือนเกี่ยวกับพวกรองเท้า หรือเสื้อผ้าติดในร่องบันไดเลื่อนกันบ้าง แต่คลิปที่จะเอามาฝากนี้ ไม่นึกว่าราวจับบันไดเลื่อนก็จะอันตรายได้ขนาดนี้ ดูภาพแล้วอาจจะหวาดเสียว แต่จากข่าวที่ตามอ่านดู เด็กปลอดภัยนะครับ แม้จะตกลงมาถึง 3 ชั้น

Science Kids พิชิตปริศนา

  แอนิเมชันวิทยาศาสตร์ไทยเรื่องแรก (จัดทำโดย สสวท.) เป็นการ์ตูนสนุกๆ ทางช่อง Thai PBS ที่เริ่มออกฉายตั้งแต่ปลายปี 2554 กับ ก๊วน Science Kids แห่งหมู่บ้านป่าหรรษานำทีมโดย "อาร์วี่" นกฮูกผู้รอบรู้ ต้องคอยแก้ปัญหาเรื่องไสยศาสตร์และความงมงายที่ถูกพวก Black Magic นำโดย "แพนโด้" หมอผีกำมะลอใช้ไสยศาสตร์คอยปั่นหัวชาวบ้านให้เข้าใจผิดตลอดเวลา

  นับเป็นการ์ตูนแอนิเมชั่นแนวผจญภัยแฟนตาซี ซึ่งผสมผสานความรู้ ความสนุกสนานและความบันเทิงได้อย่างลงตัว รวมทั้งนำเสนอการให้ความรู้เกี่ยวกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่เกี่ยวข้องกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ กับการที่ อาร์วี่และสหายจึงรวมกลุ่มเป็น “ไซน์คิดส์” เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าปรากฏการณ์ประหลาดนั้นมีเหตุผลอธิบายได้



Click ดูตอนอื่นๆ เพิ่มเติม

Tips ช่วยลูกปลอดภัย Internet



  Internet เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลายๆ เครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน โดยที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะสามารถเชือมต่อถึงกันได้ทั่วโลก Internet จึงเป็นแหล่งเรียนรู้ขนาดใหญ่ ที่รวบรวมความรู้ทุกๆด้าน   การนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในการศึกษาสามารถทำได้หลายรูปแบบ
  • เพื่อทำการติดต่อสื่อสาร ส่งการบ้าน ส่งรายงาน
  • เพื่อสืบค้นข้อมูล
  • เพื่อเรียนทางไกล สามารถเรียนผ่านทางเว็บ E-Learning ได้
  ตัวอย่างของข้อดีของ internet ต่อการเรียน
  • การศึกษาวัฒนธรรมและภาษาที่หลากหลาย
  • เปิดโลกทัศน์ของเด็กให้กว้างขึ้น
  • สะดวก และประหยัด

อัลตร้าซาวด์ ระหว่างตั้งครรภ์

Ultrasound 4D

  อัลตร้าซาวด์ หรือ การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงขณะตั้งครรภ์  มีความปลอดภัยต่อทารกในครรภ์ เพราะไม่มีการใช้รังสี และไม่เคยมีการศึกษาอะไรที่แสดงให้เห็นว่า ทารกที่อยู่ในครรภ์ซึ่งได้รับการทำการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงนั้น เกิดความผิดปกติใดๆ แต่ก็มีบางการศึกษาที่สงสัยว่า การทำอัลตร้าซาวด์ อาจจะทำให้ทารกที่คลอดออกมาถนัดซ้ายมากขึ้น เรื่องนี้ยังไม่มีการยืนยันชัดเจน แต่ก็ไม่ได้แปลว่า การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงขณะตั้งครรภ์ จะไม่มีความเสี่ยงเสียทีเดียว แต่ทั้งนี้ความเสี่ยงที่ว่า เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นทางทฤษฎี (ในทางปฏิบัติไม่เคยพบ) ขอยืนยันว่าไม่เคยมีรายงานอันตรายที่เกิดจากการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงแต่อย่างใด แต่เนื่องจากการผ่านพลังงานคลื่นเสียงอาจจะมีผลในทางทฤษฎีบางอย่างได้ คำแนะนำจึงให้ทำเท่าที่จำเป็น คราวนี้มาดูความจำเป็นของแพทย์ที่ทำดีกว่า ว่าแพทย์ทำการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่ออะไรบ้าง

  • เพื่อดูอายุครรภ์
  • เพื่อตรวจดูความพิการแต่กำเนิดของทารก
  • เพื่อตรวจติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
  • เพื่อหาสาเหตุ กรณีเมื่อเกิดความผิดปกติต่างๆ
  • เหตุผลอื่นๆ เช่น ต้องการดูเพศทารก เป็นต้น

  การทำอัลตร้าซาวด์เพื่อดูอายุครรภ์ ไม่ใช่เพื่อใช้แทนอายุครรภ์จากการคำนวณ หากจำวันที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายได้ และประจำเดือนมาเป็นรอบๆที่สม่ำเสมอ (อาจคลาดเคลื่อนได้บ้างนิดหน่อย) อย่างนี้การคำนวณอายุครรภ์จะแม่นยำกว่า แต่ถ้าจะทำอัลตร้าซาวด์เพื่อดูอายุครรภ์ ก็สามารถทำเมื่อใดก็ได้แต่...ความแม่นยำจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ช่วงเวลาที่ทำ

  การทำอัลตร้าซาวด์เพื่อตรวจดูความพิการแต่กำเนิดของทารกในครรภ์ ส่วนใหญ่จะทำเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 18 สัปดาห์ขึ้นไปแต่มีการตรวจบางอย่างที่จะทำเร็วกว่านี้ เช่นการตรวจความหนาของผิวหนังระดับคอ (Nuchal thickness) จะทำเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 12 สัปดาห์ ซึ่งเป็นการตรวจคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ (Down Syndrome) อย่างหนึ่ง

  การทำอัลตร้าซาวด์เพื่อตรวจติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ จะทำเมื่อคิดว่าทารกตัวค่อนข้างเล็ก (ทราบอายุครรภ์แน่นอนแล้ว) หรือมีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น มีภาวะครรภ์เป็นพิษ เป็นโรคหัวใจ ซึ่งอาจส่งผลทำให้ทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติได้ กรณีเหล่านี้แพทย์จะทำการตรวจมากกว่าหนึ่งครั้ง เพื่อที่จะได้เปรียบเทียบการเจริญเติบโตหรือเอาค่าการเจริญเติบโตที่ได้ไป พล็อตกราฟแสดงการเจริญเติบโต

  การตรวจอัลตร้าซาวด์เพื่อหาสาเหตุของความผิดปกติ หมายถึงมีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้น แพทย์จึงใช้อัลตร้าซาวด์เพื่อประกอบการวินิจฉัย ที่เจอบ่อยๆ เช่น มีเลือดออกผิดปกติขณะตั้งครรภ์ ถ้าอายุครรภ์น้อยๆ แพทย์ก็จะกังวลว่าเป็นการตั้งครรภ์นอกมดลูก ท้องลม หรือทารกเสียชีวิตแล้วกำลังจะแท้ง ถ้าอายุครรภ์มากมากหน่อยก็จะสงสัยเรื่องรกเกาะต่ำ หรือรกลอกตัวก่อนกำหนด กรณีเหล่านี้จะทำเมื่อเกิดเหตุการณ์ผิดปกติ ถ้าไม่มีก็ไม่จำเป็นต้องทำ

  ส่วนสาเหตุอื่นๆ เช่น ทำอัลตร้าซาวด์เพื่อดูเพศทารก เพราะส่วนใหญ่คุณแม่ที่ตั้งครรภ์เข้าใจว่าการทำอัลตร้าซาวด์ทำเพื่อดูเพศให้เท่านั้น การทำเพื่อดูเพศทารกในครรภ์เป็นเรื่องที่มีทั้งข้อดีและข้อไม่ดี ถ้าจะทำส่วนใหญ่ก็จะต้องอายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์ขึ้นไปครับ ทั้งนี้นอกจากขึ้นอยู่กับอายุครรภ์แล้ว ยังขึ้นอยู่กับความชำนาญของผู้ทำ ความละเอียดของเครื่อง และท่าของทารก บางรายแพทย์ที่ชำนาญบางท่านเห็นเพศทารกตั้งแต่อายุครรภ์น้อยกว่า 16 สัปดาห์ก็มี